เทศกาลสำคัญของจังหวัดภูเก็ต

เทศกาลสำคัญของจังหวัดภูเก็ต
เทศกาลกินเจ
        เทศกาลกินเจ หรือ กินแจ หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะรีออในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลีไต้หวัน ฮ่องกง ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2170 ตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา


เทศกาลพ้อต่อ
เทศกาลพ้อต่อ จะจัดประมาณ วันสารทจีน เป็นงานที่จัดขึ้นตามความเชื่อของชาวจีน ในประเทศไทยมีการจัดงานนี้ขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับอิทธิพลจากชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากเมื่อร้อยกว่าปีก่อน โดยจัดตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (ตรงกับเดือน 9 ปฏิทินจันทรคติไทย) ในช่วงเทศกาลดังกล่าวผู้คนจะหาของมาเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณเร่ร่อนทั้งหลาย



วันไหว้เทวดา
วันไหว้เทวดา หรือ วันป้ายทีก้ง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังวันตรุษจีน 9 วัน ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 1 ตามปฏิทินจีน ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต สิงคโปร์ และมาเลเซีย ถือเป็นการบูชาเทวดาหรือองค์หยกหองส่งเต่ เพื่อให้ท่านปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยชาวจีนจะจัดของไหว้ ขนมบัวลอย ผลไม้มงคลต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์ในประเพณี คือ ต้นอ้อย 1 คู่ ประดับด้วยการแขวนโมบายอย่างจีนที่เรียกว่า โกจี่ และขนมเจดีย์น้ำตาล ที่เรียกว่า ทะถึง มาตั้งไหว้บนโต๊ะใหญ่ที่รองขาให้สูงขึ้นกว่าปกติตกแต่งด้วยผ้าปูปักลวดลายพื้นสีแดงที่เรียกว่า โต๊ะอุ๋ย จัดบริเวณหน้าบ้าน โดยจะเริ่มไหว้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น




ตรุษจีน
ตรุษจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"


เทศกาลเช็งเม้ง
         ชิงหมิง หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ "เฉ่งเบ๋ง" (ในสำเนียงฮกเกี้ยน) "เช็ง"หรือ"เฉ่ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง"หรือ"เบ๋ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์  
ในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม - 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี
        ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ฮวงซุ้ย(แต้จิ๋ว) แต่คนฮกเกี้ยนเรียกว่า บ่องป้าย เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ


ประเพณีลอยเรือชาวเล

ประเพณีลอยเรือ หรือ ลอยเรือชาวเล เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวเลที่ยึดถือปฏิบัติและสืบทอดกันมาช้านาน โดยชาวเลมีความเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์เพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านรอดพ้น จากสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งปวง ด้วยการขออำนาจจากผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านให้ช่วยขับไล่สิ่ง อัปมงคล และรวมทั้งเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองให้พวกเขาได้ อยู่รอดปลอดภัยตลอดฤดูมรสุม โดยใช้เรือเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งชั่วร้ายออกไป ปล่อยให้ไหลไปตามสายน้ำ


เทศกาลไหว้พระจันทร์
เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ  เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ (กันยายนตามปฏิทินสากล)
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ในบางประเทศ เช่น ฮ่องกง, ไต้หวัน, สิงคโปร์ หรือเวียดนาม จะจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้





ประเพณีปล่อยเต่า
สำหรับประเพณีนี้เป็นประเพณีที่เป็นเรื่องความเชื่อของจีนที่ว่า ในวันที่ 15 ของเดือน 7 ของจีน นับเป็นวันครึ่งปีตามคตินิยมของจีนเป็นวันที่วิญญาณจะได้รับการปลดปล่อยให้กลับมาเยี่ยมบ้านญาติพี่น้อง จึงได้มีการบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ ตามบ้านเรือนจะตกแต่งแท่นบูชาอย่างสวยงามพร้อมทั้งอาหารคาวหวานและเครื่องกงเต็ก ส่วนดวงวิญญาณที่ไม่มีญาติ แต่ละบ้านก็จะจัดแท่นบูชาพร้อมทั้งอาหารคาวหวานไว้ที่หลังบ้านนอกจากนี้แล้วตามศาลเจ้าต่างๆในเกาะภูเก็ตจะเต็มไปด้วยขนมและผลไม้ที่ผู้ศรัทธานำมาถวาย ล้วนแต่แต่ได้รับการประดับตกแต่งมาเป็นอย่างดี ผลไม้บางอย่างแกะสลักอย่างสวยงาม เป็นที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่อยู่ในบรรยากาศของพิธีนี้ยิ่งนัก ประเพณีนี้จัดยิ่งใหญ่ทุกปี ที่บริเวณซอยโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ถนนตะกั่วทุ่ง ตัดถนนภูเก็ต ทางไปสะพานหิน
เครื่องที่นำมาบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่



































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น